วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบสุริยะ

........ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงมาก แผ่พลังงานออกมาอย่างมหาศาล.....อ่านต่อ
........มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า แถมยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ.....อ่านต่อ
........ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์
เร็วที่สุด พื้นผิวของดาวพุธมีลักษณะคล้าย
ดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก.อ่านต่อ
........ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็น วงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลก
กว่าดาวดวงอื่นๆ............................อ่านต่อ
........ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับโลก
จึงชื่อว่าเป็น"ฝาแฝดโลก"เป็นดาวเคราะห์
ที่ปรากฏสว่างที่สุด.........................อ่านต่อ
........ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้น
จึงสามารถมองเห็น..........................อ่านต่อ
........โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา365*1/4
วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ โลกไม่ได้ มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง .............................อ่านต่อ
........ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ อยู่ห่างไกลจากโลกมาก สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา.............อ่านต่อ
........เป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้ง
หมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้..................อ่านต่อ
........ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น ดาวพูลโต
เป็นดาวขนาดเล็กที่สุด....................อ่านต่อ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://science.nasa.gov/headlines/y2009/17jun_jetstream.htm
[2] http://soi.stanford.edu/results/heliowhat.html
[3] http://wattsupwiththat.com/2009/06/17/solar-cycle-24-lack-of-sunspots-caused-by-sluggish-solar-jet-stream-returning-soon/
[4] http://www.astronomynow.com/090618mysteryofthemissingsunspotsexplained.html

http://www.absorn.ac.th/darasat%20solar%20system/index.html

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน

...เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติ
บางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วง
ของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่
ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์
ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่ง ที่
นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน
...............ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ
มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา
มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่ง ที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์
ดวงนี้มองเห็นจากโลก ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลาง
ของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัสกล้องโทรทัศน์
ขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควัน
ประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง
...............อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้อง
มาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพ
และการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะ
ตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์
ต่างๆมาก เหมือนยานวอยาเจอร์
...............ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวน
รอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่าน
ด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการ
ลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวน
ที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน
......................ดาวบริวาร
...............นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่ง
มีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจาก
ดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูน
เป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจาก
ดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี
มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

ข้อมูลจำเพาะของดาวเนปจูน

  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 4,498,252,900 ก.ม. 30.06896348 A.U.
  หมุนรอบตัวเอง : 0.67125 วัน
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 163.7232045 ปี
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 49,528 ก.ม. (3.883 เท่าของโลก )
  ปริมาตร : 44 เท่าของโลก
  มวล : 1.0244 * 1026 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 1760 ก.ก./ ม 3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 1100 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 5.4778 ก.ม./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 23.71 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.00858587
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 1.76917 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 29.58 องศา
  อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ : 73 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Hydrogen (H2) 74%
Helium (He) 25%
CH4
  ดาวบริวาร : 1. Naiad 2. Thalassa 3. Despina 4. Galatea 5. Larissa
6. Proteus 7. Triton 8. Nereid

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Neptune
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเนปจูน
[3] http://www.solarviews.com/eng/neptune.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/neptune.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_neptune.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส
...ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สาม
ในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย
ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์
จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์ 2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมัน
กลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
.........................โลกของน้ำ
...............ภาพของดาว ยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัด
รอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์ บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์แต่ประกอบ
ด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ ด้านในของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ
มองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการ เคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใด
ที่มีลักษณะดังกล่าวเหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้ง หนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่
ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั่งข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่าง ของเวลากลางวัน
เป็นเวลา 22 ปี แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่า
ขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
.......................วงแหวนและดาวบริวารของดาวยูเรนัส
...............วง แหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดย
หอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมา ตรง
ข้ามหน้าของมัน ยานวอยาเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบ
ไปด้วยก้อนฝุ่น ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวน
ที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่น
ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน
.......................ดาวบริวารที่ประหลาด
...............ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆ
ระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัส
มีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียว
กัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้
กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน

ข้อมูลจำเพาะของดาวยูเรนัส

  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 2,870,972,200 ก.ม.19.19126393 A.U.
  หมุนรอบตัวเอง : 0.71833 วัน ( หมุนกลับหลัง )
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 83.74740682 ปี
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 51,118 ก.ม. (4.007 เท่าของโลก )
  ปริมาตร : 52 เท่าของโลก
  มวล : 8.6849 * 1025 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 1300 ก.ก./ ม 3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 869 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 6.8352 ก.ม./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 21.29 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.04716771
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 0.76986 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 97.86 องศา
  อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ : 76 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : H 2 , He, CH 4
  ดาวบริวาร : 1. Cordelia 2. Ophelia 3. Bianca 4. Cressida 5.Desdemona6. Juliet 7. Portia 8. Rosalind 9.Belinda
10. Puck 11. Miranda12. Ariel 13. Umbriel 14. Titania
15. Oberon 16. Caliban (97U1)17. Sycorax (97U2)
18.1986 U10 19. S/1999 U1 20. S/1999 U2
21. S/1999 U3

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Uranus
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวยูเรนัส
[3] http://www.solarviews.com/eng/uranus.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/uranus.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_uranus.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์

.ดาว เสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์
ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์
ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็ก
...............วงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่น
และก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบ
ด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง แต่สังเกตได้จากโลกเห็นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุด เรียกว่า วงแหวน A วงสว่างที่สุดอยู่ใกล้ดาวเสาร์เรียกว่า วงแหวน B ช่องว่างระหว่างวงแหวนทั้งสองนี้
เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini Division) ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลิ Giovani Cassini ซึ่งพบวงแหวนนี้เป็นคนแรกในปี 1675 ภายในวงแหวน B มีวงแหวนที่ไม่สว่างชื่อวงแหวน C
...............ภาพ จากการถ่ายของยานไพโอเนียร์และวอยาเจอร์แสดงให้เห็นว่า มีวงแหวนมากกว่าสามวง คือมีวงแหวน D ซึ่งมองเห็นเลือนๆ นอกจากนี้ยังมีวงแหวนชั้นนอกที่มีลักษณะแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F และวงแหวน G ด้านหลังของวงแหวน
ทั้งสองนี้เป็นวงแหวนขนาดกว้าง แต่มีความเลือนคือ วงแหวน E วงแหวนทั้งหมดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 375,000 ไมล์ วงแหวนแต่ละวงบางมากเมื่อเทียบกับความกว้าง เปรียจประดุจดังแผ่นกระดาษ ดังนั้นเมื่อด้านข้างของวงแหวนหันมาทางโลก เราจึงมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เอียงจากระนาบทางโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์เป็นมุม 27 องศา เมื่อดูจากโลกจึงเห็นวงแหวนไม่เหมือนกันในแต่ละตำแหน่ง ถ้าวงแหวนหันด้านข้างมาทางโลกเราจะมองไม่เห็นวงแหวนเลย แต่จะเห็นเป็นเส้นสีดำพาดผ่านดาวเสาร์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ที่ผ่านเฉียดดาวเสาร์พบว่า วงแหวน
ของดาวเสาร์ด้านที่ได้รับแสงแดดมีอุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส ส่วนด้านมืดอุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็น -200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำขนาดนี้น้ำแข็งจะไม่ระเหยหรือกลายเป็นไอเลย วงแหวนที่เห็นจากโลกเป็น 3 ชั้นนั้น แท้ที่จริงประกอบด้วย
วงแหวนเล็กๆ จำนวนเป็นล้านๆ วง วงแหวนก่อรูปร่างอย่างไรและเมื่อไร ? วงแหวน C และ B ได้ก่อตัวเมื่อดาวเสาร์
หรือดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะเริ่มเกิดขึ้น ดาวเคราะห์ก่อตัวด้วยแก๊ซและอนุภาคที่ลอยในอวกาศ วงแหวนอาจก่อตัว
โดยอนุภาคน้ำแข็งที่ตกค้าง วงแหวน A อาจเป็นเศษที่เหลือของดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งของดาวเสาร์ ประมาณ 10 ล้านปีมา
แล้ว ดวงจันทร์อาจแตกแยกออกจากกัน ชิ้นส่วนทั้งหมดของดวงจันทร์อาจกระจัดกระจายเป็นวงแหวนกว้าง ในขณะที่มันหมุน
รอบดาวเคราะห์
...............ก่อน ปี 1980 มีคนคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารสิบดวง หลังจากนั้นยานวอยาเจอร์ ได้พบดาวบริวารเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง ปัจจุบันเราคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารอื่นๆ นอกเหนือจากดาวบริวารเหล่านี้ ดาวบริวารชั้นในประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็ง และบาง
ดวง ก็ประกอบด้วยหิน มันปกคลุมด้วยหินและรอยแตกดาวบริวารชั้นในบางดวงมีการหมุนที่ผิดปกติ ดาวบริวารที่อยู่ใกล้ที่สุด
คือ ดาว Inner Shepherd และดาว Outer Shepherd มันจะหมุนรอบแต่ละข้างของวงแหวน F แรงโน้มถ่วงของดาวบริวาร
มีผลกระทบต่อส่วนของวงแหวน F มันทำให้ลอนบิดเบี้ยวเป็นรูปเกลียวที่ประหลาด มีกลุ่มดาวบริวารชั้นในที่หมุนรอบดาวเสาร์
เช่นเดียวกัน บ้างก็หมุนในระยะห่างกัน บ้างก็หมุนใกล้กัน บ้างก็หมุนไปข้างหน้าหรือข้างหลังของดาวอื่น แต่มันไม่ปะทะกัน ดาวบริวารชั้นนอกดวงแรกของดาวเสาร์ มีชื่อเรียกว่า Titan เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สองในระบบสุริยะ ดาว Titan มีชั้น
บรรยากาศ มันเป็นสิ่งผิดปกติที่ดาวบริวารถูกล้อมรอบด้วยชั้นของแก๊ซเหมือนกับดาวเคราะห์ ยานวอยาเจอร์ 1 ได้เข้าไปใกล้
ดาว Titan เมื่อมันบินผ่านดาวเสาร์ในปี 1980 ภาพที่ถูกส่งกลับมาแสดงให้เห็นว่าถูกปกคลุมด้วยหมอกสีส้ม แต่ไม่สามารถ
มองเห็น พื้นผิวได้เลย บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแก๊ซที่สำคัญในบรรยากาศของโลก เรามีแก๊ซออกซิเจนในโลกด้วย แต่ดาว Titan ไม่มีแก๊ซเหล่านี้ แต่มันมีแก๊ซมีแทนซึ่งเป็นแก๊ซธรรมชาติที่เราใช้สำหรับการ
หุงต้มในโลก หมอกเกิดจากการตกผลึกของของแหลวสีส้มในบรรยากาศของดาว Titanของแหลวที่มีสีดังกล่าวเกิดขึ้น
เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์กระทบกับแก๊ซ พื้นผิวของดาว Titan มีความเย็นมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าพื้นผิวอาจปกคลุมด้วยมหาสมุทร
ของมีเทนแหลว หรือหิมะสีน้ำตาลที่ประกอบขึ้นจากมีเทน ภายในดาว Titan ประกอบด้วยน้ำแข็งซึ่งมีแกนเป็นหินนักดาราศาสตร์
ต้องการค้นหาสิ่งต่างๆ ให้มากกว่านี้เกี่ยวกับดาว Titan ยานอวกาศอาจไปถึงที่นั่นในศตวรรษหน้า มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ที่ครั้งหนึ่งโลกของเรามีสภาพคล้ายดาว Titan ถัดจากดาว Titan จะมีบริวารอีกสามดวง ดาวดวงแรกคือ Hyperion ซึ่งเป็นดาว
ขนาดเล็กประกอบด้วยน้ำแข็งมีรูปร่างคล้ายถั่ว ดาว Hyperion อาจเป็นซากที่เหลือของดาวบริวารดวงใหญ่ที่แตกกระจายออกมา ถัดจากดาว Hyperion คือดาว Iapetus ดาวบริวารประหลาดดวงนี้จะมืดในด้านหนึ่งและสว่างอีกด้านหนึ่ง โดยสีที่เกิดจากหิน
ซึ่งมาจากภายในดาว ดาวบริวารที่อยู่ชั้นนอกที่สุดเรียกว่า Phoebe มันจะหมุนไปรอบๆ Phoebe อาจจะเป็นดาวเคราะห์น้อย
ซึ่งถูกดึงดูดโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์
ข้อมูลจำเพาะของดาวเสาร์
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 1,426,725,400 ก.ม. 9.53707032 A.U.
หมุนรอบตัวเอง : 0.44401 วัน (10.2 ชั่วโมง )
หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 29.42351935 ปี
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 120,536 ก.ม. (9.449 เท่าของโลก )
ปริมาตร : 755 เท่าของโลก
มวล : 5.6851 * 1026 ก.ก.
ความหนาแน่น : 690 ก.ก./ ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว : 896 cm/s2
ความเร็วเฉลี่ย : 9.6724 km/s
ความเร็วการผละหนี : 35.49 km/s
ความรีของวงโคจร : 0.05415060
ความเอียงระนาบวงโคจร : 2.48446 องศา
ความเอียงของแกนหมุน : 26.73 องศา
อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ : 134 องศาเคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Hydrogen (H2) 97%
Helium (He) 3%
Methane 0.05%
ดาวบริวาร : 1. Pan 2. Atlas 3. Prometheus 4. Pandora 5. Epimetheus
6. Janus 7. Mimas 8. Enceladus 9. Tethys 10. Telesto
11. Calypso 12. Dione 13. Helene 14. Rhea 15. Titan
16. Hyperion 17. Iapetus 18. Phoebe 19. S/2000 S1 20. S/2000 S2 21. S/2000 S3 22. S/2000 S4 23. S/2000 S5 24. S/2000 S6 25. S/2000 S7 26. S/2000 S8 27. S/2000 S9 28. S/2000 S10 29. S/2000 S11 30. S/2000 S12
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Saturn
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเสาร์
[3] http://www.solarviews.com/eng/saturn.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/saturn.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_saturn_1.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี

ดาว พฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความ
หนาแน่น ของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่า
ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์
คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
...............ความเป็น ที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศุนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา
มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์
อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุดถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วยการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของ
ดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีจึงโป่งออก
บริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจาก
แรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น2.53 เท่าของโลก
...............นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนี
ที่ผิวมากที่สุด (60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก ) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียม
ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าว
ข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อยๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มี
ดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่นๆ ของดาวพฤหัสบดีคือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สังเกตุพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่าย
หรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแถบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายแข็มขัดหลายเส้น เป็น
ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
...............ดาว พฤหัสบดีให้ความร้อนและคลื่นวิทยุออกมามากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าใจกลางของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส มีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง และบริวาร
4 ดวงใหญ่ ที่ชื่อว่า ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ค้นพบโดยกาลิเลโอ เมื่อ
พ.ศ. 2153 ทำให้กาลิเลโอมั่นใจ และสนันสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสเกี่ยวกับระบบสุริยะ
ว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ดาวพฤหัสบดีจึงเป็นระบบย่อยๆ ที่มีบริวารวิ่งวนอยโดยรอบ
ู่ แบบเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ การเคลื่อนที่รอบ
ดวงอาทิตย์เทียบกับดาวฤกษ์รอบละ 11.86 ปี หรือเกือบ 12 ปีทำให้เห็นดาวพฤหัสบดี
เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ปีละ 1 กลุ่ม หรือผ่านครบ 12 ราศีในเวลาประมาณ 12 ปี
...............การ สำรวจดาวพฤหัสบดีโดยยานอวกาศ มียานอวกาศหลายลำที่ได้สำรวจดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพถ่าย ดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้ และค้นพบบริวารเพิ่มเติมหลายดวง ยานอวกาศลำแรกที่ไปเฉียดดาวพฤหัสบดีคือ ยานอวกาศ
ไพโอเนียร์ 10 ของสหรัฐอเมริกา ออกจากโลกเมื่อ พ . ศ . 2515 และไปเฉียดดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2516 ยานได้ส่งภาพ
ถ่ายดาวพฤหัสบดี กลับมาจำนวนมาก ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2 เป็นยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาอีก 2 ลำที่ออก
เดินทางจากโลกเมื่อพ . ศ . 2522 จากภาพถ่ายในระยะใกล้นี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนบางๆ 3 ชั้นของดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอ เป็นยานอวกาศที่ส่งออกจากโลกแล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ และของโลกก่อนที่จะไปถึงดาวพฤหัสบดี
ซึ่งดึงยานกาลิเลโอไว้เป็นบริวาร ยานจึงวนรอบดาวพฤหัสบดี ในขณะที่ส่งยานลำลูกฝ่าบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีด้วย
เส้นทางการเคลื่อนที่ของยานกาลิเลโอที่ต้องอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ 2 ครั้ง ของโลก 1 ครั้งก่อนที่จะไปวนรอบดาว
พฤหัสบดี จึงมีชื่อเส้นทางการเคลื่อนที่ว่า VVEJ (Venus Venus Earth Jupiter)
...............ขณะนี้ยานกาลิเลโอลำแม่ยังเคลื่อนที่รอบดาวพฤหัสบดี บางรอบผ่านใกล้บริวาร
ขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี ซึ่งได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ก่อนที่จะถึง
ดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอได้ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อย2 ดวง คือ แกสปรา
เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 และไอดา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ยานอวกาศ
กาลิเลโอได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสบดีครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม พ . ศ . 2538 และได้ผ่านเฉียดบริวารไอโอเพียง 900 กิโลเมตร โดยมีกำหนดเข้าใกล้ไอโอมากกว่านี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ . ศ . 2543 ไอโอ คือบริวารที่พบว่ามีภูเขาไฟกำลังจะระบิดอยู่
หลายแห่ง เมื่อผ่านเข้าใกล้ยูโรปา ซึ่งเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเราเล็กน้อย พบว่าพื้นผิว
ของยูโรปาปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่หนาทึบ มีหลุมบ่อไม่มาก
...............สันนิษฐานว่า เมื่ออุกกาบาตวิ่งเข้าชนจนเกิดหลุมแล้ว น้ำที่เกิดขึ้นจะแข็งตัวกลบหลุมอีกครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์
ตั้งข้อสงสัยว่า กระบวนการที่น้ำแข็ง ละลาย -> แข็งตัว -> ละลาย อาจเกิดขึ้นบนยูโรปาด้วยสาเหตุอื่น เช่นแรงน้ำขึ้น - น้ำลง แกนิมีดเป็นก้อนน้ำแข็งสกปรกขนาดใหญ่ เป็นบริวารดวงใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี และขอบระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่า
ดาวพุธ มีพื้นผิวที่ขรุขระเหี่ยวย่น และมีหลุมอุกกาบาตหลายแห่ง มีลักษณะไม่เหมือนบริวารดวงอื่น แกนิมีดอยู่ใกล้
ดาวพฤหัสบดีจึงมีแรงน้ำขึ้น - น้ำลงจากดาวพฤหัสบดีค่อนข้างมาก คัลลิสโตมีขนาดโตพอๆ กับดาวพุธ เป็นบริวารที่มีหลุม
อุกกาบาตมากกว่าบริวารดวงอื่น พื้นผิวน้ำแข็งของคัลลิสโตอาจหนาแน่นกว่าของแกนิมีดหลายเท่า น้ำแข็งอาจลงไปลึก
หลายร้อยกิโลเมตร อุณหภูมิของคัลลิสโตต่ำมาก เครื่องมือวัดอุณหภูมิในยานวอยเอเจอร์ วัดอุณหภูมิเวลากลางวันของ
คัลลิสโตได้ -118 องศา เซลเซียส ในขณะเวลากลางคืนอุณหภูมิเป็น -193 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ยานอวกาศกาลิเลโอผ่านใกล้ไอโอ โดยอยู่สูงจากภูเขาไฟของไอโอเพียง 1,000 กิโลเมตร แต่โชคไม่ดีที่เกิดความผิดพลาด
ทางเทคนิค จึงไม่สามารถบันทึกข้อมูลที่น่าสนใจได้ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปีพ.ศ. 2543 ยานอยู่ห่างไอโอเพียง 200 กิโลเมตรเท่านั้น
ข้อมูลจำเพาะของดาวพฤหัสฯ
  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 778,412,010 ก.ม. 5.20336301 A.U
  หมุนรอบตัวเอง : 0.41354 วัน (9.8 ชั่วโมง )
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 11.85652502 ปี
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 142,984 ก.ม. 11.209 ( เท่าของโลก )
  ปริมาตร : 1316 เท่าของโลก
  มวล : 1.8987 * 1027 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 1330 ก.ก./ ม.3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 2312 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 13.0697 ก.ม./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 59.54 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.04839266
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 1.30530 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 3.12 องศา
  อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย : 288 - 293 องศาเคลวิน
  อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ : 165 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Hydrogen (H2) 90%
Helium (He) 10%
Methane 0.07%

  ดาวบริวาร : 1. Metis 2. Adrastea 3. Amalthea 4. Thebe 5. Io
6. Europa 7. Ganymede 8. Callisto 9. Leda 10.Himalia
11. Lysithea 12. Elara 13. Ananke 14. Carme 15. Pasiphae 16. Sinope 17. S/1999 J1 18. S/2000 J1
19. S/2000 J2 20. S/2000 J3 21. S/2000 J4
22. S/2000 J5 23. S/2000 J6 24. S/2000 J7
25. S/2000 J8 26. S/2000 J9 27. S/2000 J10
28. S/2000 J11

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Jupiter
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวพฤหัสบดี
[3] http://www.solarviews.com/eng/jupiter.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/jupiter.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_jupiter_1.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ดาวอังคาร


ดาวอังคาร

..ดาว อังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดย
ระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่
ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าที่กำลังแยกภาพ ขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ
เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร
...............สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี
รายงานเมื่อ พ . ศ . 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็น
ภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel ( ช่องหรือทาง ) แต่คนอังกฤษเอาไป
แปลว่า canal ( คลอง ) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำ
จากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์
ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ
เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดง
คลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลอง
บนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มี คลองบนดาวอังคารแน่นอน
พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไป
ในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ
...............ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ
วันที่ 22 กรกฎาคม พ . ศ . 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อ
มากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็น
ภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ
หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน
.............ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร
ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ
...............เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ . ศ . 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบ
ดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิ้ง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย(Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหา
สิ่งมีชีวิตหรือซากของสิ่งมีชีวิตแต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารต่อ
จากยานไวกิ้งคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิว
ดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่
สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า "ฐานเซแกน"
..............
...............ภาพ ก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็น
ร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอนซึ่งคดเคี้ยวไปมาในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้อง ปฏิบัติการบนโลก
และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ . ศ . 2512
ข้อมูลจำเพาะของดาวอังคาร
  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 227,936,640 ก.ม. 1.52366231 A.U.
  หมุนรอบตัวเอง : 1.02595675 วัน
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 686.98 วัน
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 6,794 ก.ม. (0.5326 เท่าของโลก)
  ปริมาตร : 0.149 เท่าของโลก
  มวล : 6.4191 * 1023 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 3,940 ก.ก./ ม. 3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 371 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 24.1309 ก.ม ./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 5.02 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.09341233
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 1.85061 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 25.19 องศา
  อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย : 186 - 268 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Carbondioxide (CO2) 95%
Nitrogen (N2) 3 Nitrogen (N2) 3%
Argon (Ar) 1.6%

  ดาวบริวาร : 1. Phobos 2. Deimos
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Mars
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวอังคาร
[3] http://www.solarviews.com/eng/mars.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/mars.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_mars_1.html
[6] http://sunflowercosmos.org/extra_solar/extra_solar_main/discover_planets.html
[7] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

 

ดวงจันทร์




ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศและไม่มีน้ำ และมีแรงดึงดูดที่พื้นผิวเพียงแค่ประมาณ 1 ใน 7 เท่าของโลกเท่านั้น ถึงแม้ว่าแรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะมีค่าน้อยมาก แต่ก็ส่งผลกระทบมายังโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันก็คือ การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง กล่าวคือ แรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะมีค่ามากในด้านที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้กับโลก และมีค่าน้อยในด้านตรงข้าม ดังนั้น น้ำบนโลก ซึ่งเป็นของไหลที่เคลื่อนที่ไปมาได้ง่าย จะถูกแรงดึงดูดดึงให้เข้าไปอยู่ในด้านที่ใกล้กับดวงจันทร์ ดังนั้น ด้านที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์จึงเกิดน้ำขึ้น ส่วนด้านตรงข้ามก็จะเกิดน้ำลง

ใน แต่ละวันจะเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสอบรอบที่ตำแหน่งใดๆบนโลก ทั้งนี้เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก นอกจากนี้ แรงดึงดูดที่กระทำระหว่างโลกและดวงจันทร์ยังทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจาก โลกไปยังดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนรอบตัวเองช้าลง ในอัตรา 1.5 มิลลิวินาทีต่อศตวรรษ และดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกมากขึ้น 3.8 เซนติเมตรในแต่ละปี

ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 29. 5306 วัน ซึ่งเท่ากับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลก เรียกว่าเป็นการหมุนแบบซิงโครนัส (Synchronous Rotation) ดังนั้น เมื่อเรามองจากโลก เราจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากแรงดึงดูดอีกเช่นกัน แรงดึงดูดทำให้โลกหมุนช้าลงเรื่อยๆ ทำนองเดียวกันก็ทำให้ดวงจันทร์ในอดีตหมุนช้าลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเท่ากับที่โคจรรอบโลกอย่างที่เห็นใน ปัจจุบัน


Moon


ดวง จันทร์เป็นบริวารของโลก นอกจากจะหมุนรอบตัวเองแล้ว ขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองในเวลาที่เท่ากันด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง

ดวง จันทร์เล็กว่าโลกประมาณ 4 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3476 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเราโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรเป็นวงรี บางครั้งก็เข้าหรืออยู่ห่างกว่าระยะนี้ แสงจากดวงจันทร์มาถึงโลกเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 วินาที ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเรา 1 รอบใช้เวลา 27.32 วัน แต่ที่เราเห็นดวงจันทร์กลับมาอยู่ที่เดิมบนท้องฟ้านั้นจะใช้เวลา 29.5306 วัน เนื่องจากว่าระหว่างที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้น โลกเราก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย ทำให้กว่าที่ดวงจันทร์จะกลับมาอยู่ที่เดิมต้องใช้เวลาเกือบเดือน ทำให้จำนวนวันของปฏิทินจันทรคติ บางเดือนก็มี 29 วัน บางวันก็มี 30 วัน ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลกเรา 6 เท่า ถ้าเราชั่งน้ำหนักบนโลก ได้ 60 กิโลกรัม บนดวงจันทรจะชั่งได้แค่ 10 กิโลกรัม ทำให้นักบินอวกาศที่สวมชุดหนักๆ สามารถกระโดดได้สูงกกว่าบนโลกเรา

พื้น ผิวบนดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ภูเขา ที่ราบ ร่องเขา ทะเลที่ไม่มีน้ำ และอาจมีน้ำแข็งที่ขั้วของดวงจันทร์ คนไทยเราเห็นเห็นพื้นผิวที่หลากหลายเป็นกระต่าย หรือบางคนก็เห็นเป็นตากับยายตำข้าว ฝรั่งเห็นเป็นหญิงสาว หรือเป็นแมลงปีกแข็ง แต่ดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีเพียงด้านเดียว ถ้าอยากเห็นอีกด้านต้องนั่งยานอวกาศไปดู เพราะดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก

บางครั้งเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี ก็จะทำให้เกิดสุริยุปราคา ซึ่งมีทั้งแบบเต็มดวง แบบวงแหวน และแบบางส่วน แต่ถ้าเงาของโลกไปตกที่ดวงจันทร์ ก็จะทำให้เกิดจันทรุปราคาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่ากบกินเดือน หรือราหูอมจันทร์ ดวงจันทร์ช่วงที่โดนเงามืดของโลกบังทั้งหมดจะกลายเป็นสีแดง เนื่องจากแสงที่หักเหจากโลกเราไปตกที่ดวงจันทร์ คล้ายๆ กับที่เราเห็นท้องฟ้าช่วงเช้าหรือเย็นเป็นสีแดง
ดิถีของดวงจันทร์
ถ้านับเดือนทางจันทรคติแล้ว ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบกินเวลา 29.5306 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ จากนั้นก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย

เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็น เสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้า จะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา
จันทร์เสี้ยวเกิดจากเงาของโลกใช่ไหม?
ถาม : เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว เนื่องจากอะไร? ตามที่เรียนมา เกิดจากเงาของโลกไปบังดวงจันทร์ จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว แต่ทำไมบางครั้ง (ช่วงเย็นๆ) เราเห็นทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ อยู่คนละข้างของขอบฟ้า?

ตอบ : เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว ก็เพราะว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก ในระนาบเดียวกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ส่วนเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์ที่มนุษย์เห็นบนโลกจึงเป็นส่วนของดวงจันทร์ที่ ได้รับแสงอาทิตย์

ส่วนของดวงจันทร์ที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ก็จะไม่ สว่าง คือเป็น เงามืด (ของดวงจันทร์เอง) และมนุษย์จึงเห็นดวงจันทร์ปรากฏในท้องฟ้า มีลักษณะความสว่างและมืดเปลี่ยนไปทุกๆ คืน ตั้งแต่คืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์อยู่ไกลสุดจากดวงอาทิตย์ โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ดวงจันทร์จึงปรากฏสว่างทั้งดวง (ยกเว้นในกรณีที่เกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ในเงามืดของโลกจากดวงอาทิตย์ ส่วนมืดของดวงจันทร์จึงเป็นเงาของโลกบนดวงจันทร์จริงๆ)

หลังจากคืน วันเพ็ญ ดวงจันทร์ก็จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในลักษณะการเคลื่อนที่ (เกือบจะ) เป็นวงกลมรอบโลก ส่วนสว่างของดวงจันทร์ (จากแสงสว่างของดวงอาทิตย์) ก็จะเริ่มลดลง คือเริ่มมีส่วนเป็นเงามืดของดวงจันทร์เอง ปรากฏให้เห็น จนกระทั่งเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก มนุษย์โลกก็จะไม่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์เลย ซึ่งก็เป็นคืนเดือนมืดนั่นเองครับ...
การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก โดยเคลื่อนไปทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวของโลก ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบในเวลา 27.32 วัน นั่นคือในเวลา 27.32 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360 องศา หรือในเวลา 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360/27.32 หรือประมาณ 13.17 องศา

ดัง นั้นเมื่อดูจากโลกจะเห็นดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออกของจุดเดิมวันละประมาณ 13 องศา ซึ่งเทียบเท่ากับเวลาที่โลกหมุนประมาณ 52 นาที ดังนั้น ดวงจันทร์จะขึ้นช้าวันละประมาณ 52 นาที
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงจันทร์
1. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร
2. มวล 0.012 เท่าของโลก
3. ความหนาแน่น 3.3 เท่าของน้ำ
4. ระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร
5. ระยะที่อยู่ใกล้ที่สุด 365,400 กิโลเมตร
6. ระยะห่างมากที่สุด 406,700 กิโลเมตร
7. เวลาหมุนรอบตัวเอง 27.32 วัน (นับแบบดาราคติ)
8. เวลาหมุนรอบโลก 29.5306 วัน (นับแบบจันทรคติ)
9.เอียงทำมุมกับเส้นอีคลิปติค 5 องศา
10. เอียงทำมุมกับแกนตัวเอง 6 1/2 องศา

เวลาขึ้น - เวลาตกของดวงจันทร์
เนื่องจากดวงจันทร์มีการโคจรไปรอบโลกจากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่การหมุนรอบตัวเองของโลกกับการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกใช้เวลาไม่เท่ากัน คือดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลามากกว่าจึงทำให้ดวงจันทร์มาปรากฎให้เห็น ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวัน จึงทำให้การขึ้นและตกของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน

ดวงจันทร์ ขึ้นหมายถึงดวงจันทร์มาปรากฏอยู่ ณ ขอบฟ้าทิศตะวันออก ซึ่งจะเป็นเวลาใดก็ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ส่วนดวงจันทร์ตกหมายถึงดวงจันทร์มาปรากฎอยู่ ณ ขอบฟ้าทิศตะวันตก เวลาขึ้นเวลาตกของดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้




1. ดวงจันทร์จะขึ้นและตกช้าลงอย่งสม่ำเสมอประมาณวันละ 50 นาที
2. ในวันข้างขึ้น ดวงจันทร์จะขึ้นในเวลากลางวันก่อนดวงอาทิตย์ตก และตกในเวลากลางคืน
3. ในวันข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นหลังดวงอาทิตย์ตก หรือขึ้นในเวลากลางคืน และตกในเวลากลางวัน
4. ในวันขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์จะขึ้นเวลาประมาณเที่ยงวัน และตกในเวลาเที่ยงคืน
5. ในวันแรม 7 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นในเวลาประมาณเที่ยงคืน และตกในเวลาประมาณเที่ยงวัน
6. ดวงจันทร์ต้องใช้เวลาประมาณ 30 วันจึงจะมีเวลาขึ้นและตกใกล้เคียงกับเวลาเดิมอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุ ที่คนบนโลกเห็นดวงจันทร์ช้าลงประมาณวันละ 50 นาที นั้นเป็นเพราะว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง แต่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาถึง 27.32 วัน เราจึงเห็นดวงจันทร์มาปรากฏ ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวันข้างขึ้น หรือข้างแรมก็ตาม เราจะพบว่าดวงจันทร์จะหันด้านสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ เมื่อสังเกตดวงจันทร์บนโลก จะพบว่าในวันข้างขึ้น ดวงจันทร์จะหันด้านสว่างไปทางทิศตะวันออก ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดวงจันทร์เราจะสามารถบอกได้ว่าดวงจันทร์วันนี้เป็น ข้างขึ้น หรือข้างแรม

ข้างขึ้นข้างแรม
ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ คือ ลักษณะเว้าแหว่งของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตลอดทั้งเดือน ซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ฮิบปราคัส เป็นคนแรกที่สามารถอธิบายถึงเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้

ลักษณะ ของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์นั้น เกิดขึ้นจากแสงของดวงอาทิตย์ที่กระทบผิวของดวงจันทร์แล้วสะท้อนกลับมายังผู้ สังเกตที่อยู่บนโลก ซึ่งลักษณะการเว้าแหว่งของดวงจันทร์นั้น เป็นมุมมองที่เกิดขึ้นกับผู้สังเกตบนโลกนั่นเอง




คาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกหนึ่งรอบนั้นมีอยู่สองแบบคือ

1. synodic period (ไซโนดิค พีเรียด) หรือคาบการโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ซึ่งมีค่าเท่ากับ 27.5 วัน เป็นคาบเวลาจริง ดังนั้นใน 1 รอบทรงกลมท้องฟ้า ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งไป 27 ตำแหน่งหรือเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกราววันละ 13.33 องศา (360 / 27.5)

2. sidereal period (ไซดิเรียล พีเรียด) หรือคาบการโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ ระหว่างที่ดวงจันทร์โคจรไปรอบโลกนั้น โลกเองก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน เมื่อดวงจันทร์โคจรครบรอบ synodic period (27.5วัน) แล้ว โลกก็มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปด้วย ทำให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมเช่นกัน คือเคลื่อนไปทิศตะวันออกอีกราว 27 องศา ( ดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิมวันละ 1 องศาโดยประมาณ) ทำให้ดวงจันทร์ต้องใช้เวลาเคลื่อนที่อีกนิดเพื่อให้ทันดวงอาทิตย์ ดังนั้น sidereal period จะมากกว่า synodic period อยู่ 2 วัน รวมเป็น 29.5 วัน



วงนอกคือตำแหน่งต่างๆของดวงจันทร์เมื่อโคจรรอบโลก 1 รอบ
โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นจุดอ้างอิง Sidereal Period วงในเป็นภาพปรากฏของเสี้ยวดวงจันทร์
ที่เห็นจากผู้สังเกตบนโลก


ดัง นั้นคาบการเกิดเสี้ยวบนดวงจันทร์จะอ้างอิงกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นหลัก คือจากตำแหน่งดวงจันทร์มืด (คืนเดือนมืด) ครั้งแรกจนถึงดวงจันทร์มืดอีกครั้งจะกินเวลา 29.5 วัน ตามค่า Sidereal Period นั่นเอง

New Moon หรือจันทร์ดับ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง ในวันนี้ผู้สังเกตที่อยู่ด้านมืดหรือด้านกลางคืน และด้านกลางวันบนโลกจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่าคืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ

Full Moon หรือ วันเพ็ญ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หรือเป็นตำแหน่งตรงข้ามกับ New Moon ซึ่งแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ผู้สังเกตที่อยู่ด้านกลางวัน จะไม่เห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้าเลย ในขณะผู้ที่อยู่ด้านมืดจะเห็นดวงจันทร์นานที่สุดคือเริ่มจับขอบฟ้าตั้งแต่ เวลาประมาณ 6 โมงเย็น และตกตอน 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง โดยที่เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะพอดี

ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แบ่งออกเป็น 15 ส่วน เริ่มจาก ขึ้น 1...2...3... ค่ำ จนถึง ขึ้น 15 ค่ำ เราแบ่งข้างขึ้นออกเป็น 3 ช่วงคือ

1 ) ช่วงข้างขึ้นอ่อนๆ ตั้งแต่ ขึ้น 1..2..3 ค่ำ จนถึง ขึ้น 7 ค่ำ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Waxing Crescent ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวสว่างบางๆ จนถึงเกือบครึ่งดวง โดยหันด้านสว่างไปทางด้านใกล้ดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันตก คือเราจะเห็นอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกตอนหัวค่ำนั่นเอง

2) จันทร์ครึ่งดวงครั้งแรก ภาษาอังกฤษใช้คำว่า First Quater หรือตรงกับ ขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์ทำมุม 90 องศาระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จะเริ่มเห็นจับขอบฟ้าตั้งแต่เวลาเที่ยงวันโดยประมาณ และเริ่มมองเห็นได้ในตอนกลางวันเพราะมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ แล้วจะตกลับฟ้าในตอนเที่ยงคืนโดยประมาณ

3) ช่วงข้างขึ้นแก่ๆ ตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำจนถึงขึ้น 14 ค่ำ จะเรียกว่า Waxing Gibbous ดวงจันทร์จะปรากฏด้านสว่างค่อนข้างใหญ่ มองเห็นได้ในตอนกลางวันทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หลังเที่ยงวันไปแล้ว ่

ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 15 ส่วนเช่นกัน เริ่มจาก แรม 1..2...3.. ค่ำ จนถึงแรม 14-15 ค่ำ โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเกือบรุ่งเช้าด้านทิศจะวันออก โดยหันด้านสว่างของดวงจันทร์ไปทางทิศตะวันออกหรือด้านใกล้ดวงอาทิตย์ จะเป็นช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับข้างขึ้นนั่นเอง เราแบ่งช่วงข้างแรมออกเป็น 3 ช่วงเช่นกันคือ

1) ช่วงข้างแรมอ่อนๆ ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ..2..3..4 จนถึงแรม 7 ค่ำ จะเรียกว่า Waning Gibbous จะเป็นช่วงที่เราเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์ค่อนข้างมาก และเริ่มลดลงเรื่อยๆจนถึงครึ่งดวง เห็นได้ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนด้านทิศตะวันออก

2) จันทร์ครึ่งดวงครั้งสุดท้าย หรือ Last Quater ตรงกับแรม 8 ค่ำ ดวงจันทร์ทำมุม 90 องศาระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์อีกครั้ง ซึ่งจะเริ่มเห็นจับของฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนโดยประมาณ และตกลับขอบฟ้าในตอนเที่ยงวันของอีกวันหนึ่ง ซึ่งด้านมืดและด้านสว่างของดวงจันทร์ในคืนแรม 8 ค่ำนี้ จะอยู่สลับกันคือตรงข้ามกับคืนวันขึ้น 8 ค่ำ

3) ช่วงข้างแรมแก่ๆ ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ ...10..11..จนถึงแรม 14 -15 ค่ำ จะเรียกว่า Waning Crescent ซึ่งเราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวตั้งแต่ครึ่งดวงจนถึงบางๆอีกครั้ง แต่จะเห็นค่อนข้างดึกจนถึงใกล้รุ่งเช้า โดยหันด้านเสี้ยวสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันออก
และต่อจากนี้ดวงจันทร์ก็จะไปอยู่ด้านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้ง คือเริ่มต้น New Moon อีกครั้งแบบนี้ไปเรื่อยๆเริ่มวัฏจักรของข้างขึ้นข้างแรมใหม่ ซึ่งจะกินเวลา 1 รอบ 29.5 วัน เราเรียก 1 รอบดวงจันทร์ หรือ 1 เดือน (เมื่อเดือนนั้นเราหมายถึงดวงจันทร์ ในขณะที่ภาษาอังกฤษเองก็ใช้คำว่า Month มาจากคำว่า Moon นั่นเอง)

จะเห็นว่าถ้าเราเข้าใจลักษณะเสี้ยว ของดวงจันทร์รวมถึงทิศและเวลาในการปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแล้ว เราก็จะทราบได้ทันทีว่าคืนนั้นตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค่ำ ตัวอย่างเช่น เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวสว่างราว 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์ และอยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นขึ้น 3 ค่ำ ในทางตรงกันข้ามหากเราเห็นเสี้ยวสว่าง 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์เช่นกัน แต่อยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นช่วงข้างแรม 12 ค่ำ (พิจารณาด้านมืดจะมี 12 ส่วน มาจาก 15 ลบ 3)




ลักษณะเสี้ยวของดวงจันทร์ช่วงข้างขึ้นกับข้างแรมจะเกิดขึ้นคนละด้านของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลก

ภาพกลาง เป็นภาพดวงจันทร์เต็มดวง ที่เราเห็นในคืนวันเพ็ญหรือ ขึ้น 15 ค่ำ ด้านบนจะเป็นทิศเหนือของดวงจันทร์ ขณะที่ด้านขวามือจะเป็นทิศตะวันออกและซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก

ภาพขวา เป็นภาพดวงจันทร์ข้างขึ้น ประมาณ ขึ้น 7 ค่ำเกือบเต็มดวง สังเกตว่าด้านสว่างของดวงจันทร์นั้นจะเริ่มเกิดขึ้นจากทิศตะวันออกของดวง จันทร์ก่อน แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำ

ภาพซ้าย เป็นภาพดวงจันทร์ข้างแรม ประมาณแรม 9-10 ค่ำ ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง แต่ด้านสว่างจะไปปรากฏซีกตะวันตกของดวงจันทร์แทน โดยที่ด้านมืดของดวงจันทร์เริ่มไล่มาจากด้านทิศตะวันออกของดวงจันทร์ตอนแรม 1 ค่ำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางด้านทิศตะวันตกของดวงจันทร์ช่วง แรม 13 ค่ำ





http://solarviews.com/eng/homepage.htm
http://www.planetscapes.com/solar/eng/history.htm
http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/chronology.html