วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส
...ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สาม
ในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย
ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์
จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์ 2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมัน
กลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
.........................โลกของน้ำ
...............ภาพของดาว ยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัด
รอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์ บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์แต่ประกอบ
ด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ ด้านในของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถ
มองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการ เคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใด
ที่มีลักษณะดังกล่าวเหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้ง หนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่
ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั่งข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่าง ของเวลากลางวัน
เป็นเวลา 22 ปี แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่า
ขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด
.......................วงแหวนและดาวบริวารของดาวยูเรนัส
...............วง แหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดย
หอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมา ตรง
ข้ามหน้าของมัน ยานวอยาเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบ
ไปด้วยก้อนฝุ่น ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวน
ที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่น
ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน
.......................ดาวบริวารที่ประหลาด
...............ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆ
ระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัส
มีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียว
กัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้
กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน

ข้อมูลจำเพาะของดาวยูเรนัส

  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 2,870,972,200 ก.ม.19.19126393 A.U.
  หมุนรอบตัวเอง : 0.71833 วัน ( หมุนกลับหลัง )
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 83.74740682 ปี
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 51,118 ก.ม. (4.007 เท่าของโลก )
  ปริมาตร : 52 เท่าของโลก
  มวล : 8.6849 * 1025 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 1300 ก.ก./ ม 3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 869 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 6.8352 ก.ม./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 21.29 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.04716771
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 0.76986 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 97.86 องศา
  อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ : 76 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : H 2 , He, CH 4
  ดาวบริวาร : 1. Cordelia 2. Ophelia 3. Bianca 4. Cressida 5.Desdemona6. Juliet 7. Portia 8. Rosalind 9.Belinda
10. Puck 11. Miranda12. Ariel 13. Umbriel 14. Titania
15. Oberon 16. Caliban (97U1)17. Sycorax (97U2)
18.1986 U10 19. S/1999 U1 20. S/1999 U2
21. S/1999 U3

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Uranus
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวยูเรนัส
[3] http://www.solarviews.com/eng/uranus.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/uranus.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_uranus.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น