วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์

 

ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงชื่อว่าเป็น " ฝาแฝดโลก " ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ชั้นในเช่นเดียวกับดาวพุธ จึงทำให้เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้าน
ทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า " ดาวประจำเมือง " และด้านทิศตะวันออก
ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า " ดาวรุ่ง " หรือ " ดาวประกายพรึก " ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงามเมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์
เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน
...............ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่า
เป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจาก
ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจก
อย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์
จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้
โลกที่สุด
...............ลักษณะ พิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบนี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์
ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนาน
เท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบ
ดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก

.........................โครงสร้างของดาวศุกร์

...............เปลือก ชั้นนอกของดาวศุกร์ จะเป็นชั้นของหินซิลิเกตมีหลุมอุกกาบาตไม่มาก มีที่ราบขนาดใหญ่สองแห่งคือ ที่ราบอะโฟรไดท์ ( Aphrodite) ขนาดราวทวีปอัฟริกา และที่ราบอิชทาร์ (Ishtar) ขนาดราวทวีปออสเตรเลีย และมีแนวภูเขาเหยียดยาว กับปล่อยภูเขาไฟที่พ่นธารลาวา
ออกมา ชั้นกลางเป็นหินกับโลหะ ส่วนแกนกลาง เป็นเหล็กและนิเกิลที่หลอมเหลว

.........................บรรยากาศของดาวศุกร์

...............ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ อาร์กอน 0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อน
แสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจ
ดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้ว
นำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
.........................อุณหภูมิของดาวศุกร์

...............ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
..........ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวรุนแรงมาก ทั้งนี้
เพราะ ดาวศุกร์มีก๊าซที่ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มาก และ มีปริมาณสูง ก๊าซดัง
กล่าวคือ คาร์บอนไดออกไซด์ นอกจาากนี้ยังมีไอของกรดกำมะถันซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับไอน้ำ
..........บรรยากาศของดาวศุกร์มีอาร์กอน ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ นีออน -ไฮโดรคลอไรด์
และไฮโดรฟลูออไรด์ ทำให้ความกดดันบรรยกาศสูงกว่าโลก 90 เท่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก
บน พื้นผิวดาวศุกร์ ทำให้ดาวศุกร์ร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน ตอนกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 477 องศาเซลเซียส บนพื้นผิวดาวศุกร์มีร่องลึกคล้ายทางน้ำไหล แต่เป็นร่องที่เกิดจากการไหลของ
ลาวาภูเขาไฟ ไม่ใช่เกิดจากน้ำอย่างเช่นบนโลก ร่องเหล่านี้ยาวนับร้อยถึงพันกิโลเมตร กว้าง 1-2 กิโลเมตร เช่นร่องบอลติสวัลลิส (Baltis Vallis) ซึ่งยาว 6,800กิโลเมตรนับว่ายาวที่สุดในระบบสุริยะ
...............บนพื้นผิวดาวศุกร์มีซากภูเขาไฟที่สูงชื่อ มาตมอนส์ (Maat Mons) ภาพที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเรดาร์ของยานอวกาศ
แมกเจลแลนจากระยะ 550 กิโลเมตร สูงจากพื้นผิว 1.7 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่ามาตมอนส์เป็นภูเขาไฟที่สูงประมาณ 6 กิโลเมตร ปรากฏการณ์บนฟ้าเกี่ยวกับดาวศุกร์ การปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์เมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจาก
วงโคจร ของดาวศุกร์รอบดวงอาทิตย์เล็กกว่าวงโคจรของโลก ทำให้ด้านสว่างของดาวศุกร์ที่หันมาทางโลกมีขนาดเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ใกล้โลก จะมีด้านสว่างเพียงเล็กน้อยหันมาทางโลกทำให้เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวบางๆ แต่มีความยาว
มากกว่าเมื่อดาวศุกร์อยู่ไกล ช่วงที่เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยงบางๆ นี้เองที่ดาวศุกร์ปรากฎสว่างมากบนฟ้าด้วย ส่วนเมื่อปรากฎ
เป็นเสี้ยวน้อยลงหรือเกือบเป็นเต็มดวง ขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะเล็กลงและสว่างลดลง ปรากฏการณ์ดาวศุกร์
ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เมื่อดาวศุกร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยอยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ แต่คนบน
โลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นวงกลมดำบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เรียกว่า ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เกิดไม่บ่อย เกิดเป็นคู่ห่างกันประมาณ 8 ปี ใน 1 ศตวรรษจะมีเกิด 1 คู่ เช่น คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คือในปี ค . ศ . 1631 และ 1639 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือในปี ค . ศ . 1761 และ 1769 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือในปี ค . ศ . 1874 และ 1882 คู่ที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือในปี ค . ศ . 2004 และ 2012
...............การสำรวจดาวศุกร์โดยยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศของ
สหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2517 ยานอวกาศลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิว
ดาวศุกร์ได้ คือ ยานอวกาศเวเนรา 9 ของรัสเซีย
...............ซึ่งลงสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์เมื่อ 21 ตุลาคม พ . ศ . 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์
อีกหลายลำ ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพโดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ 29 ตุลาคม พ . ศ . 2534
........................ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์ มีด้วยกันหลายลำได้แก่
1. มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม 2505
2. เวเนรา 4 18 ตุลาคม 2510
3. เวเนรา 7 15 ธันวามคม 2513
4. มาริเนอร์ 10 5 กุมภาพันธ์ 2517
5. เวเนรา 9 23 ตุลาคม 2518
6. เวเนรา 15 10 ตุลาคม 2526
7. ไพโอเนียร์ - วีนัส 2 9 ธันวาคม 2521
8. แมกเจลแลน 10 สิงหาคม 2533
ข้อมูลจำเพาะของดาวศุกร์
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 108,208,930 ก.ม. 0.72333199 A.U.
หมุนรอบตัวเอง : 243.0187 วัน ( หมุนกลับหลัง )
หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 225 วัน
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 12,103.6 ก.ม. (0.9488 เท่าของโลก )
ปริมาตร : 0.88 เท่าของโลก
มวล : 4.8690 * 1024 ก.ก.
ความหนาแน่น : 5250 ก.ก. / ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว : 887 ซ.ม./ วินาที 2
ความเร็วเฉลี่ย : 35.0214 ก . ม./ วินาที
ความเร็วการผละหนี : 10.36 ก . ม./ วินาที
ความรีของวงโคจร : 0.00677323
ความเอียงระนาบวงโคจร : 3.39471 องศา
ความเอียงของแกนหมุน : 177.3 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย : 730 องศาเคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Carbondioxide (CO2) 96%
Nitrogen (N2) 3%
water vapor 0.003%
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Venus
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวศุกร์
[3] http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phitsanulok/suwicha_p/venus.html
[4] http://www.solarviews.com/eng/venus.htm
[5] http://www.doodaw.com/solar/venus.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น