วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดวงจันทร์




ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศและไม่มีน้ำ และมีแรงดึงดูดที่พื้นผิวเพียงแค่ประมาณ 1 ใน 7 เท่าของโลกเท่านั้น ถึงแม้ว่าแรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะมีค่าน้อยมาก แต่ก็ส่งผลกระทบมายังโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันก็คือ การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง กล่าวคือ แรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะมีค่ามากในด้านที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้กับโลก และมีค่าน้อยในด้านตรงข้าม ดังนั้น น้ำบนโลก ซึ่งเป็นของไหลที่เคลื่อนที่ไปมาได้ง่าย จะถูกแรงดึงดูดดึงให้เข้าไปอยู่ในด้านที่ใกล้กับดวงจันทร์ ดังนั้น ด้านที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์จึงเกิดน้ำขึ้น ส่วนด้านตรงข้ามก็จะเกิดน้ำลง

ใน แต่ละวันจะเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสอบรอบที่ตำแหน่งใดๆบนโลก ทั้งนี้เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก นอกจากนี้ แรงดึงดูดที่กระทำระหว่างโลกและดวงจันทร์ยังทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจาก โลกไปยังดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนรอบตัวเองช้าลง ในอัตรา 1.5 มิลลิวินาทีต่อศตวรรษ และดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกมากขึ้น 3.8 เซนติเมตรในแต่ละปี

ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 29. 5306 วัน ซึ่งเท่ากับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลก เรียกว่าเป็นการหมุนแบบซิงโครนัส (Synchronous Rotation) ดังนั้น เมื่อเรามองจากโลก เราจะมองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากแรงดึงดูดอีกเช่นกัน แรงดึงดูดทำให้โลกหมุนช้าลงเรื่อยๆ ทำนองเดียวกันก็ทำให้ดวงจันทร์ในอดีตหมุนช้าลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเท่ากับที่โคจรรอบโลกอย่างที่เห็นใน ปัจจุบัน


Moon


ดวง จันทร์เป็นบริวารของโลก นอกจากจะหมุนรอบตัวเองแล้ว ขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองในเวลาที่เท่ากันด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง

ดวง จันทร์เล็กว่าโลกประมาณ 4 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3476 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเราโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรเป็นวงรี บางครั้งก็เข้าหรืออยู่ห่างกว่าระยะนี้ แสงจากดวงจันทร์มาถึงโลกเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 วินาที ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเรา 1 รอบใช้เวลา 27.32 วัน แต่ที่เราเห็นดวงจันทร์กลับมาอยู่ที่เดิมบนท้องฟ้านั้นจะใช้เวลา 29.5306 วัน เนื่องจากว่าระหว่างที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้น โลกเราก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย ทำให้กว่าที่ดวงจันทร์จะกลับมาอยู่ที่เดิมต้องใช้เวลาเกือบเดือน ทำให้จำนวนวันของปฏิทินจันทรคติ บางเดือนก็มี 29 วัน บางวันก็มี 30 วัน ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลกเรา 6 เท่า ถ้าเราชั่งน้ำหนักบนโลก ได้ 60 กิโลกรัม บนดวงจันทรจะชั่งได้แค่ 10 กิโลกรัม ทำให้นักบินอวกาศที่สวมชุดหนักๆ สามารถกระโดดได้สูงกกว่าบนโลกเรา

พื้น ผิวบนดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ภูเขา ที่ราบ ร่องเขา ทะเลที่ไม่มีน้ำ และอาจมีน้ำแข็งที่ขั้วของดวงจันทร์ คนไทยเราเห็นเห็นพื้นผิวที่หลากหลายเป็นกระต่าย หรือบางคนก็เห็นเป็นตากับยายตำข้าว ฝรั่งเห็นเป็นหญิงสาว หรือเป็นแมลงปีกแข็ง แต่ดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีเพียงด้านเดียว ถ้าอยากเห็นอีกด้านต้องนั่งยานอวกาศไปดู เพราะดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก

บางครั้งเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกมาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี ก็จะทำให้เกิดสุริยุปราคา ซึ่งมีทั้งแบบเต็มดวง แบบวงแหวน และแบบางส่วน แต่ถ้าเงาของโลกไปตกที่ดวงจันทร์ ก็จะทำให้เกิดจันทรุปราคาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่ากบกินเดือน หรือราหูอมจันทร์ ดวงจันทร์ช่วงที่โดนเงามืดของโลกบังทั้งหมดจะกลายเป็นสีแดง เนื่องจากแสงที่หักเหจากโลกเราไปตกที่ดวงจันทร์ คล้ายๆ กับที่เราเห็นท้องฟ้าช่วงเช้าหรือเย็นเป็นสีแดง
ดิถีของดวงจันทร์
ถ้านับเดือนทางจันทรคติแล้ว ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบกินเวลา 29.5306 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ จากนั้นก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย

เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็น เสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้า จะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา
จันทร์เสี้ยวเกิดจากเงาของโลกใช่ไหม?
ถาม : เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว เนื่องจากอะไร? ตามที่เรียนมา เกิดจากเงาของโลกไปบังดวงจันทร์ จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว แต่ทำไมบางครั้ง (ช่วงเย็นๆ) เราเห็นทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ อยู่คนละข้างของขอบฟ้า?

ตอบ : เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว ก็เพราะว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก ในระนาบเดียวกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ส่วนเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์ที่มนุษย์เห็นบนโลกจึงเป็นส่วนของดวงจันทร์ที่ ได้รับแสงอาทิตย์

ส่วนของดวงจันทร์ที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ก็จะไม่ สว่าง คือเป็น เงามืด (ของดวงจันทร์เอง) และมนุษย์จึงเห็นดวงจันทร์ปรากฏในท้องฟ้า มีลักษณะความสว่างและมืดเปลี่ยนไปทุกๆ คืน ตั้งแต่คืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์อยู่ไกลสุดจากดวงอาทิตย์ โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ดวงจันทร์จึงปรากฏสว่างทั้งดวง (ยกเว้นในกรณีที่เกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ในเงามืดของโลกจากดวงอาทิตย์ ส่วนมืดของดวงจันทร์จึงเป็นเงาของโลกบนดวงจันทร์จริงๆ)

หลังจากคืน วันเพ็ญ ดวงจันทร์ก็จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในลักษณะการเคลื่อนที่ (เกือบจะ) เป็นวงกลมรอบโลก ส่วนสว่างของดวงจันทร์ (จากแสงสว่างของดวงอาทิตย์) ก็จะเริ่มลดลง คือเริ่มมีส่วนเป็นเงามืดของดวงจันทร์เอง ปรากฏให้เห็น จนกระทั่งเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก มนุษย์โลกก็จะไม่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์เลย ซึ่งก็เป็นคืนเดือนมืดนั่นเองครับ...
การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก โดยเคลื่อนไปทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวของโลก ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบในเวลา 27.32 วัน นั่นคือในเวลา 27.32 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360 องศา หรือในเวลา 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360/27.32 หรือประมาณ 13.17 องศา

ดัง นั้นเมื่อดูจากโลกจะเห็นดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออกของจุดเดิมวันละประมาณ 13 องศา ซึ่งเทียบเท่ากับเวลาที่โลกหมุนประมาณ 52 นาที ดังนั้น ดวงจันทร์จะขึ้นช้าวันละประมาณ 52 นาที
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงจันทร์
1. เส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร
2. มวล 0.012 เท่าของโลก
3. ความหนาแน่น 3.3 เท่าของน้ำ
4. ระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร
5. ระยะที่อยู่ใกล้ที่สุด 365,400 กิโลเมตร
6. ระยะห่างมากที่สุด 406,700 กิโลเมตร
7. เวลาหมุนรอบตัวเอง 27.32 วัน (นับแบบดาราคติ)
8. เวลาหมุนรอบโลก 29.5306 วัน (นับแบบจันทรคติ)
9.เอียงทำมุมกับเส้นอีคลิปติค 5 องศา
10. เอียงทำมุมกับแกนตัวเอง 6 1/2 องศา

เวลาขึ้น - เวลาตกของดวงจันทร์
เนื่องจากดวงจันทร์มีการโคจรไปรอบโลกจากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่การหมุนรอบตัวเองของโลกกับการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกใช้เวลาไม่เท่ากัน คือดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลามากกว่าจึงทำให้ดวงจันทร์มาปรากฎให้เห็น ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวัน จึงทำให้การขึ้นและตกของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน

ดวงจันทร์ ขึ้นหมายถึงดวงจันทร์มาปรากฏอยู่ ณ ขอบฟ้าทิศตะวันออก ซึ่งจะเป็นเวลาใดก็ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน ส่วนดวงจันทร์ตกหมายถึงดวงจันทร์มาปรากฎอยู่ ณ ขอบฟ้าทิศตะวันตก เวลาขึ้นเวลาตกของดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้




1. ดวงจันทร์จะขึ้นและตกช้าลงอย่งสม่ำเสมอประมาณวันละ 50 นาที
2. ในวันข้างขึ้น ดวงจันทร์จะขึ้นในเวลากลางวันก่อนดวงอาทิตย์ตก และตกในเวลากลางคืน
3. ในวันข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นหลังดวงอาทิตย์ตก หรือขึ้นในเวลากลางคืน และตกในเวลากลางวัน
4. ในวันขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์จะขึ้นเวลาประมาณเที่ยงวัน และตกในเวลาเที่ยงคืน
5. ในวันแรม 7 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นในเวลาประมาณเที่ยงคืน และตกในเวลาประมาณเที่ยงวัน
6. ดวงจันทร์ต้องใช้เวลาประมาณ 30 วันจึงจะมีเวลาขึ้นและตกใกล้เคียงกับเวลาเดิมอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุ ที่คนบนโลกเห็นดวงจันทร์ช้าลงประมาณวันละ 50 นาที นั้นเป็นเพราะว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง แต่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาถึง 27.32 วัน เราจึงเห็นดวงจันทร์มาปรากฏ ณ ตำแหน่งเดิมช้าลงทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวันข้างขึ้น หรือข้างแรมก็ตาม เราจะพบว่าดวงจันทร์จะหันด้านสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ เมื่อสังเกตดวงจันทร์บนโลก จะพบว่าในวันข้างขึ้น ดวงจันทร์จะหันด้านสว่างไปทางทิศตะวันออก ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดวงจันทร์เราจะสามารถบอกได้ว่าดวงจันทร์วันนี้เป็น ข้างขึ้น หรือข้างแรม

ข้างขึ้นข้างแรม
ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ คือ ลักษณะเว้าแหว่งของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตลอดทั้งเดือน ซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ฮิบปราคัส เป็นคนแรกที่สามารถอธิบายถึงเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้

ลักษณะ ของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์นั้น เกิดขึ้นจากแสงของดวงอาทิตย์ที่กระทบผิวของดวงจันทร์แล้วสะท้อนกลับมายังผู้ สังเกตที่อยู่บนโลก ซึ่งลักษณะการเว้าแหว่งของดวงจันทร์นั้น เป็นมุมมองที่เกิดขึ้นกับผู้สังเกตบนโลกนั่นเอง




คาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกหนึ่งรอบนั้นมีอยู่สองแบบคือ

1. synodic period (ไซโนดิค พีเรียด) หรือคาบการโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ซึ่งมีค่าเท่ากับ 27.5 วัน เป็นคาบเวลาจริง ดังนั้นใน 1 รอบทรงกลมท้องฟ้า ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งไป 27 ตำแหน่งหรือเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกราววันละ 13.33 องศา (360 / 27.5)

2. sidereal period (ไซดิเรียล พีเรียด) หรือคาบการโคจรครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ ระหว่างที่ดวงจันทร์โคจรไปรอบโลกนั้น โลกเองก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน เมื่อดวงจันทร์โคจรครบรอบ synodic period (27.5วัน) แล้ว โลกก็มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปด้วย ทำให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมเช่นกัน คือเคลื่อนไปทิศตะวันออกอีกราว 27 องศา ( ดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิมวันละ 1 องศาโดยประมาณ) ทำให้ดวงจันทร์ต้องใช้เวลาเคลื่อนที่อีกนิดเพื่อให้ทันดวงอาทิตย์ ดังนั้น sidereal period จะมากกว่า synodic period อยู่ 2 วัน รวมเป็น 29.5 วัน



วงนอกคือตำแหน่งต่างๆของดวงจันทร์เมื่อโคจรรอบโลก 1 รอบ
โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นจุดอ้างอิง Sidereal Period วงในเป็นภาพปรากฏของเสี้ยวดวงจันทร์
ที่เห็นจากผู้สังเกตบนโลก


ดัง นั้นคาบการเกิดเสี้ยวบนดวงจันทร์จะอ้างอิงกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นหลัก คือจากตำแหน่งดวงจันทร์มืด (คืนเดือนมืด) ครั้งแรกจนถึงดวงจันทร์มืดอีกครั้งจะกินเวลา 29.5 วัน ตามค่า Sidereal Period นั่นเอง

New Moon หรือจันทร์ดับ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง ในวันนี้ผู้สังเกตที่อยู่ด้านมืดหรือด้านกลางคืน และด้านกลางวันบนโลกจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่าคืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ

Full Moon หรือ วันเพ็ญ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หรือเป็นตำแหน่งตรงข้ามกับ New Moon ซึ่งแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ผู้สังเกตที่อยู่ด้านกลางวัน จะไม่เห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้าเลย ในขณะผู้ที่อยู่ด้านมืดจะเห็นดวงจันทร์นานที่สุดคือเริ่มจับขอบฟ้าตั้งแต่ เวลาประมาณ 6 โมงเย็น และตกตอน 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง โดยที่เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะพอดี

ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แบ่งออกเป็น 15 ส่วน เริ่มจาก ขึ้น 1...2...3... ค่ำ จนถึง ขึ้น 15 ค่ำ เราแบ่งข้างขึ้นออกเป็น 3 ช่วงคือ

1 ) ช่วงข้างขึ้นอ่อนๆ ตั้งแต่ ขึ้น 1..2..3 ค่ำ จนถึง ขึ้น 7 ค่ำ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Waxing Crescent ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวสว่างบางๆ จนถึงเกือบครึ่งดวง โดยหันด้านสว่างไปทางด้านใกล้ดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันตก คือเราจะเห็นอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกตอนหัวค่ำนั่นเอง

2) จันทร์ครึ่งดวงครั้งแรก ภาษาอังกฤษใช้คำว่า First Quater หรือตรงกับ ขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์ทำมุม 90 องศาระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จะเริ่มเห็นจับขอบฟ้าตั้งแต่เวลาเที่ยงวันโดยประมาณ และเริ่มมองเห็นได้ในตอนกลางวันเพราะมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ แล้วจะตกลับฟ้าในตอนเที่ยงคืนโดยประมาณ

3) ช่วงข้างขึ้นแก่ๆ ตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำจนถึงขึ้น 14 ค่ำ จะเรียกว่า Waxing Gibbous ดวงจันทร์จะปรากฏด้านสว่างค่อนข้างใหญ่ มองเห็นได้ในตอนกลางวันทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่หลังเที่ยงวันไปแล้ว ่

ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้านมืดของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนด แล้วแบ่งออกเป็น 15 ส่วนเช่นกัน เริ่มจาก แรม 1..2...3.. ค่ำ จนถึงแรม 14-15 ค่ำ โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเกือบรุ่งเช้าด้านทิศจะวันออก โดยหันด้านสว่างของดวงจันทร์ไปทางทิศตะวันออกหรือด้านใกล้ดวงอาทิตย์ จะเป็นช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับข้างขึ้นนั่นเอง เราแบ่งช่วงข้างแรมออกเป็น 3 ช่วงเช่นกันคือ

1) ช่วงข้างแรมอ่อนๆ ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ..2..3..4 จนถึงแรม 7 ค่ำ จะเรียกว่า Waning Gibbous จะเป็นช่วงที่เราเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์ค่อนข้างมาก และเริ่มลดลงเรื่อยๆจนถึงครึ่งดวง เห็นได้ตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนด้านทิศตะวันออก

2) จันทร์ครึ่งดวงครั้งสุดท้าย หรือ Last Quater ตรงกับแรม 8 ค่ำ ดวงจันทร์ทำมุม 90 องศาระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์อีกครั้ง ซึ่งจะเริ่มเห็นจับของฟ้าด้านทิศตะวันออกตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนโดยประมาณ และตกลับขอบฟ้าในตอนเที่ยงวันของอีกวันหนึ่ง ซึ่งด้านมืดและด้านสว่างของดวงจันทร์ในคืนแรม 8 ค่ำนี้ จะอยู่สลับกันคือตรงข้ามกับคืนวันขึ้น 8 ค่ำ

3) ช่วงข้างแรมแก่ๆ ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ ...10..11..จนถึงแรม 14 -15 ค่ำ จะเรียกว่า Waning Crescent ซึ่งเราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวตั้งแต่ครึ่งดวงจนถึงบางๆอีกครั้ง แต่จะเห็นค่อนข้างดึกจนถึงใกล้รุ่งเช้า โดยหันด้านเสี้ยวสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ด้านทิศตะวันออก
และต่อจากนี้ดวงจันทร์ก็จะไปอยู่ด้านหน้าดวงอาทิตย์อีกครั้ง คือเริ่มต้น New Moon อีกครั้งแบบนี้ไปเรื่อยๆเริ่มวัฏจักรของข้างขึ้นข้างแรมใหม่ ซึ่งจะกินเวลา 1 รอบ 29.5 วัน เราเรียก 1 รอบดวงจันทร์ หรือ 1 เดือน (เมื่อเดือนนั้นเราหมายถึงดวงจันทร์ ในขณะที่ภาษาอังกฤษเองก็ใช้คำว่า Month มาจากคำว่า Moon นั่นเอง)

จะเห็นว่าถ้าเราเข้าใจลักษณะเสี้ยว ของดวงจันทร์รวมถึงทิศและเวลาในการปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้าแล้ว เราก็จะทราบได้ทันทีว่าคืนนั้นตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค่ำ ตัวอย่างเช่น เราเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวสว่างราว 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์ และอยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นขึ้น 3 ค่ำ ในทางตรงกันข้ามหากเราเห็นเสี้ยวสว่าง 3 ใน 15 ส่วนของดวงจันทร์เช่นกัน แต่อยู่บนขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก เราก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นช่วงข้างแรม 12 ค่ำ (พิจารณาด้านมืดจะมี 12 ส่วน มาจาก 15 ลบ 3)




ลักษณะเสี้ยวของดวงจันทร์ช่วงข้างขึ้นกับข้างแรมจะเกิดขึ้นคนละด้านของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลก

ภาพกลาง เป็นภาพดวงจันทร์เต็มดวง ที่เราเห็นในคืนวันเพ็ญหรือ ขึ้น 15 ค่ำ ด้านบนจะเป็นทิศเหนือของดวงจันทร์ ขณะที่ด้านขวามือจะเป็นทิศตะวันออกและซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก

ภาพขวา เป็นภาพดวงจันทร์ข้างขึ้น ประมาณ ขึ้น 7 ค่ำเกือบเต็มดวง สังเกตว่าด้านสว่างของดวงจันทร์นั้นจะเริ่มเกิดขึ้นจากทิศตะวันออกของดวง จันทร์ก่อน แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำ

ภาพซ้าย เป็นภาพดวงจันทร์ข้างแรม ประมาณแรม 9-10 ค่ำ ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง แต่ด้านสว่างจะไปปรากฏซีกตะวันตกของดวงจันทร์แทน โดยที่ด้านมืดของดวงจันทร์เริ่มไล่มาจากด้านทิศตะวันออกของดวงจันทร์ตอนแรม 1 ค่ำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นด้านสว่างของดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางด้านทิศตะวันตกของดวงจันทร์ช่วง แรม 13 ค่ำ





http://solarviews.com/eng/homepage.htm
http://www.planetscapes.com/solar/eng/history.htm
http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/chronology.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น