วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน

...เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติ
บางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วง
ของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่
ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์
ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่ง ที่
นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน
...............ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ
มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา
มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่ง ที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์
ดวงนี้มองเห็นจากโลก ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลาง
ของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัสกล้องโทรทัศน์
ขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควัน
ประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง
...............อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้อง
มาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพ
และการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะ
ตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์
ต่างๆมาก เหมือนยานวอยาเจอร์
...............ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวน
รอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่าน
ด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการ
ลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวน
ที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน
......................ดาวบริวาร
...............นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่ง
มีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจาก
ดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูน
เป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจาก
ดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี
มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

ข้อมูลจำเพาะของดาวเนปจูน

  ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ : 4,498,252,900 ก.ม. 30.06896348 A.U.
  หมุนรอบตัวเอง : 0.67125 วัน
  หมุนรอบดวงอาทิตย์ : 163.7232045 ปี
  เส้นผ่านศูนย์กลาง : 49,528 ก.ม. (3.883 เท่าของโลก )
  ปริมาตร : 44 เท่าของโลก
  มวล : 1.0244 * 1026 ก.ก.
  ความหนาแน่น : 1760 ก.ก./ ม 3
  ความเร่งที่พื้นผิว : 1100 ซ.ม./ วินาที 2
  ความเร็วเฉลี่ย : 5.4778 ก.ม./ วินาที
  ความเร็วการผละหนี : 23.71 ก.ม./ วินาที
  ความรีของวงโคจร : 0.00858587
  ความเอียงระนาบวงโคจร : 1.76917 องศา
  ความเอียงของแกนหมุน : 29.58 องศา
  อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ : 73 องศาเคลวิน
  ก๊าซในชั้นบรรยากาศ : Hydrogen (H2) 74%
Helium (He) 25%
CH4
  ดาวบริวาร : 1. Naiad 2. Thalassa 3. Despina 4. Galatea 5. Larissa
6. Proteus 7. Triton 8. Nereid

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Neptune
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเนปจูน
[3] http://www.solarviews.com/eng/neptune.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/neptune.html
[5] http://sunflowercosmos.org/solar_system/solar_system_main/solar_system_neptune.html
[6] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น