วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดวงอาทิตย์


ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่ใจกลาง
ของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จนทำให้ก๊าซไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นก๊าซฮีเลียม และแผ่พลังงาน
ออกมาอย่างมหาศาล เป็นความร้อนและแสงสว่าง เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า " ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน " พลังงานความร้อน และแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์นี้เอง ที่เอื้อให้เกิดสิ่งมีฃีวิตบนโลกของเรา
.........................โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ ประกอบไปด้วย

1. แกนกลาง มีอุณหภูมิสูงกว่า 15 ล้านองศาเซลเซียส
2. โชนการแผ่รังสี พลังงานความร้อนถ่ายทอดออกสู่ส่วนนอกในรูปแบบคลื่น
3. โซนการพารังสี อยู่เหนือโซนการแผ่รังสีพลังงานความร้อนในโซนนี้ถูกถ่ายทอด
....ออกสู่ส่วนนอก โดยการเคลื่อนที่ของก๊าซ
4. โฟโตสเฟียร์ เป็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์ อยู่เหนือโซนการพารังสี เราสังเกต
....พื้นผิวส่วนนี้ได้ในช่วงคลื่นแสง มีอุณหภูมิประมาณ 5,500 องศาเซลเซียส
5. โครโมสเฟียร์ เป็นบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นมาจากชั้นโฟโตสเฟียร์ มีอุณหภูมิสูง
....ประมาณ10,000 องศาเซลเซียส
6. คอโรนา เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์แผ่ออกไปในอวกาศ
....หลายล้านกิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงมากกว่า 1 ล้านองศาเซลเซียส
..........................จุดบนดวงอาทิตย์

................เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่พื้นผิวดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง จึงมีความสว่างน้อยกว่าบริเวณข้างเคียง จึงสังเกตเห็นเป็นจุดดำ จุดบนดวงอาทิตย์บางจุดมีขนาดใหญ่กว่า โลกของเราหลายเท่า จุดบนดวงอาทิตย์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงสุดทุกๆ 11 ปี ซึ่งสัมพันธ์กับการประทุจ้าที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า " โซลาร์แฟลร์ " (Solar flare)
...........................วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
............... ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง (Type G) อุณหภูมิผิวราว 6000 เคลวิน มีอายุราว 5000 ล้านปี อยู่ในช่วงกึ่งกลางชีวิต ประมาณว่าดวงอาทิตย์คงมีอายุราว 10000 ล้านปี ซึ่งเป็นชีวิตโดยเฉลี่ยของดาวฤกษ์ เมื่อราว 5000 ล้านปีมาแล้วกลุ่มฝุ่นก๊าซ ขนาดใหญ่ ( เนบิวลา ) ได้ยุบตัว เกิดเป็นดาวฤกษ์มีการเปลี่ยนแปลง
ในช่วงเวลาไม่มากนักจนดาวฤกษ์อยู่ในสภาพสมดุลยเป็นดวงอาทิตย์ ซึ่งจะอยู่ในสมดุลย์ นานกว่า
8000 ล้านปี คือเกือบตลอดชีวิตของ ดวงอาทิตย์ ช่วงปลายชีวิต ดวงอาทิตย์จะขยายตัว มีขนาดใหญ่
กลายเป็นดาวยักษ์แดง ใช้พลังงานหมดเปลืองอย่างรวดเร็ว จากนั้นเกิดการระเบิดเป็นโนวา (Nova) มวลด้านนอก กระจายออกเป็น เนบิวลา ( ซึ่งจะไปรวมตัวกัน เพื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นต่อไป ) มวลที่ศูนย์กลาง จะถูกแรงอัดกลายเป็น ดาวแคระขาว (White Dwarf) ซึ่งจะเย็นลงช้า ๆ มีแสง ริบหรี่ลง ตามลำดับจนมองไม่เห็นในที่สุด จบชีวิต การเป็นดาวฤกษ์ ของดวงอาทิตย์
..........................................
.......................................................................................................................................................
............................ ลมสุริยะ
...............อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์แผ่ออกสู่อวกาศทุกทิศทาง เรียกว่า " ลมสุริยะ " (Solar wind) อนุภาคเหล่านี้
เดินทางมาสู่โลกตลอดเวลา แต่ถูกสนามแม่เหล็กโลกปิดกั้นไว้ จึงไม่เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก อย่างไรก็ตาม
อนุภาคเหล่านี้ถูกสนามแม่เหล็กโลกเร่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ในบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ และทำปฏิกิริยา
กับก๊าซในชั้นบรรยากาศ ปรากฏเป็นแสงสีสวยงามบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน เรียกว่า " แสงเหนือแสงใต้ " (Aurora)”
ข้อมูลจำเพาะของดวงอาทิตย์
คาบการหมุนรอบตัวเอง บริเวณใกล้ศูนย์สูตร 35 วัน คาบการหมุนรอบตัวเอง บริเวณใกล้ขั้วดาว 25 วัน
คาบการโคจรรอบกาแล็กซี 220 ล้านปี ความหนาแน่น 1,410 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร มวล มากกว่าโลก 3 แสนเท่า
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 75% และ ฮีเลียม 25% ( นับโดยมวล )
อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิว 5,500 องศา C อุณหภูมิเฉลี่ยที่ใจกลาง15,000,000 องศา C

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/Sun
[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ดวงอาทิตย์
[3] http://www.solarviews.com/eng/sun.htm
[4] http://www.doodaw.com/solar/sun.html
[5] http://sunflowercosmos.org/cosmology/cosmology_main/thesun_1.html
[6] http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=sun1
[7] Martin Rees, 'Universe', Dorling Kindersley Limited, 2007

 











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น